วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เนื้อเรื่อง

หน้า1

บทนำ


จังหวัดชัยนาทเป็นจังหวัดที่น่าชมและท่องเที่ยวมีทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาท่องเที่ยวอย่าง เช่น สวนนกชัยนาท พิพธภัณฑ์สถานแห่งชาติชัยนาท และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมายนับได้ว่าเที่ยววันเดียวก็ไม่หมด



ประวัติความเป็นมา
เมืองชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงทางแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำเมืองสรรค์ (ปากคลองแพรกศรีราชาใต้ปากลำน้ำเก่า) เมืองนี้ตั้งขึ้นภายหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย จากศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำแหงมีแต่ชื่อเมืองแพรก ส่วนเมืองชัยนาท เพิ่งมาปรากฏในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เมื่อ พ .ศ.1890 ซึ่งเป็นปีที่พระเจ้าเลอไทสวรรคต กรุงสุโขทัยเกิดการแย่งชิงราชสมบัติสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเห็นเป็นโอกาสเหมาะจึงยกกองทัพเข้ายึดเมืองชัยนาท หลังจากพระยาลิไทขึ้นครองราชย์ ทางกรุงศรีอยุธยาซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้สถาปนาให้เป็นราชธานีมีกำลังเข้มแข็งมากจึงได้โปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งครองเมืองสุพรรณบุรียกทัพมาตีเมืองชัยนาท ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย เมืองชัยนาทจึงตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา โดยมีขุนหลวงพะงั่วเป็นผู้รักษาเมืองเมื่อกรุงสุโขทัย สงบแล้ว พระยาลิไท ได้ส่งทูตมากรุงศรีอยุธยา เพื่อเจรจาขอเมืองชัยนาทคืนให้แก่กรุงสุโขทัย โดยจะยอมให้เป็นอิสระและมีสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างก็มีอิสระต่อกัน ในที่สุดกรุงศรีอยุธยาได้คืนเมืองชัยนาทให้แก่กรุงสุโขทัยนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าการที่แคว้นกัมพุช (ลพบุรี) เข้าร่วมมือในการรบ ประกอบกับกรุงศรีอยุธยากำลังสถาปนาได้ไม่นาน ถ้ามีศึกกระหนาบสองด้านจะสร้างปัญหาให้ไม่น้อย ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ กรุงศรีอยุธยาคืนเมืองชัยนาทแก่กรุงสุโขทัยโดยดี
อย่างไรก็ตามปัญหาเรื่องเมืองชัยนาท ระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยาก็หาได้ยุติไม่ เพราะในปีพ.ศ.1912 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จสวรรคตทำให้สถานการณ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงสุโขทัยกลับตึงเครียดขึ้นอีก เมื่อขุนหลวงพะงั่วขึ้นครองราชย์แล้วได้เสด็จยกทัพมาโจมตีกรุงสุโขทัยในปี พ.ศ.1914 แต่ไม่มีฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะสงครามยืดเยื้อกันมาเป็นเวลานานจนขุนหลวงพะงั่วเสด็จสวรรคต นักประวัติศาสตร์เข้าใจว่าเมืองชัยนาทกลับเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา อีกครั้ง เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปได้ว่าเมืองชัยนาทแต่เดิมเป็นเมืองลูกหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช โอรสองค์ที่ 5 ของขุนหลวงพระงั่ว พระองค์เข้าพระทัยว่าในการข้างหน้ากรุงสุโขทัยจะต้องไม่มีเชื้อพระวงศ์สุโขทัยปกครองอีกต่อไป เพื่อที่จะให้ราชโอรสทั้ง 3 ของพระองค์ได้ครอบครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ และคุ้นเคยกับการปกครองบ้านเมือง จึงโปรดให้โอรสองค์ใหญ่ ซึ่งทรงพระนามว่าเจ้าอ้ายพระยา ไปครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยาโอรสองค์ที่ 2 ไปครองเมืองแพรก หรือตรัยตรึงษ์ (อำเภอสรรคบุรีในปัจจุบันนี้ ) เจ้าสามพระยาโอรสองค์ที่ 3ไปครองเมืองชัยนาท
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระนครินทราชาธิราชเสด็จสวรรคต ความทราบถึงเจ้ายี่พระยาก่อนจึงได้เตรียมการที่จะขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาสืบแทนต่อจากพระราชบิดา ฝ่ายเจ้าอ้ายพระยาเมื่อสืบทราบว่า พระราชอนุชายกกองทัพไปกรุงศรีอยุธยาเพื่อต้องการจะครอบครองราชย์สมบัติจึงรีบยกกองทัพไปบ้างประสงค์จะขึ้นครองราชสมบัติเช่นกันกองทัพทั้งสองพบกันที่ตำบลปาถ่านแขวงกรุงศรีอยุธยา จึงเกิดรบพุ่งกันในที่สุดก็สิ้นพระชนม์ลงทั้งสองพระองค์พร้อมกันด้วยการกระทำยุทธหัตถี ฝ่ายเจ้าสามพระยา ซึ่งขณะนั้นครองเมืองชัยนาทอยู่ เมื่อสมเด็จพระเชษฐาสิ้นพระชนม์ ทั้งสองพระองค์แล้วจึงได้ขึ้นเสวยราชย์ครองกรุงศรีอยุธยาสืบแทนพระราชบิดาทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2
พ.ศ. 1994 พระเจ้าติโลกราช ครองเมืองเชียงใหม่ยกทัพมาตีเมืองกำแพงเพชรได้แล้ว ส่งกำลังเข้ามา
กวาดต้อผู้คนถึงเมืองชัยนาท เข้าใจว่าเมืองชัยนาทจะถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างในคราวนั้นเอง เวลาได้ล่วงมาได้ประมาณ 100 ปีเศษ ถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิครองกรุงศรีอยุธยา ทรงสะสมอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อเตรียมต่อสู้กับพม่า จึงเสด็จขึ้นไปกระทำพระราชพิธีมัธยมกรรม ที่ตำบลชัยนาทบุรีแล้วตั้งเมืองชัยนาทขึ้นใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับตัวเมืองเดิม
พ.ศ.2127 พระเจ้าเชียงใหม่ (มังนรธาช่อ) ได้ยกกองทัพหลวงมาตั้งที่เมืองชัยนาท ครั้นทัพหน้าที่เข้ามาตั้งที่ปากคลองบางพุทราถูกพระราชมนูตีถอยกลับไปแล้ว พระเจ้าเชียงใหม่ก็ถอยทัพไปตั้งที่กำแพงเพชร
ตามหลักฐานของกรมศิลปากร จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2319 ตรงกับวันเสาร์ เดือน 9 ขึ้น 12 ค่ำ (วันที่ 28 กรกฏาคม 2319) พระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ยกกองทัพขึ้นมาขับไล่ ซึ่งกำลังรบติดพันกับไทยที่นครสวรรค์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จมาถึงเมืองชัยนาทแล้วทัพพม่าได้ข่าวก็ตกใจเกรงกลัวจึงละทิ้งค่ายที่นครสวรรค์แตกหนีไปทางเมืองอุทัยธานี พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยกกองทัพติดตามข้าศึก จนถึงบ้านเดิมบางนางบวช แขวงเมืองสุพรรณบุรี และเข้าโจมตีข้าศึกจนแตกยับเยินด้วยเหตุนี้ ทางจังหวัดชัยนาทจึงถือว่า วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นวัน “ สถาปนาจังหวัด ”
โดยที่เมืองชัยนาทตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภาคกลาง ตั้งอยู่ระหว่างกรุงสุโขทัยกับกรุงศรีอยุธยา ในยามใดที่กรุงสุโขทัยเรืองอำนาจ ก็ยึดเอาเมืองชัยนาทเป็นเมืองหน้าด่านแต่ยามใดที่กรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจ และกรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองเมืองชัยนาทก็จะเป็นเมืองสะสม อาวุธยุทธภัณฑ์ของกรุงศรีอยุธยา แม้แต่ในสมัยกรุงธนบุรี เมืองชัยนาทก็ยังเป็นที่ตั้งทัพหลวงในการทำศึกกับพม่า ด้วยเหตุนี้เมืองชัยนาทจึงได้รับความระทบกระเทือนจากสงครามอย่างมากเป็นเวลานับร้อยปีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้สร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่ตำบลบ้านกล้วย ครั้นถึงรัชกาลที่ 5 ได้ทรงตั้งกองทหารราบที่ 16 ขึ้นที่เมืองชัยนาท ซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดปัจจุบัน และเมื่อกองทหารราบที่ 16 ได้ย้ายไปที่นครสวรรค์จึงย้ายศาลากลางไปตั้งในบริเวณที่เป็นกองทหารราบที่ 16
สำหรับเมืองชัยนาทนี้ จะได้นามมาแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน ถ้าจะแปลความหมายของ “ชัยนาท” ก็น่าจะได้ความว่า เมืองที่มีชื่อเสียงในทางความมีชัย เป็นที่น่าสันนิษฐานว่าชื่อเมืองชัยนาทนี้คงจะได้ตั้งขึ้นภายหลังจาก พ.ศ.1702 แต่คงไม่ถึง พ.ศ.1946 กล่าวคือ ขุนเสือ ขวัญฟ้า หรือเจ้าคำฟ้า กษัตริย์เมืองเมาเข้าทำสงครามกับอาณาจักรโยนกเจ้าเมืองฟังคำ ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรโยนก หลังจากฟังคำแตก เจ้าเมืองฟังคำจึงอพยพผู้คนลงมาที่เมืองแปบ (กำแพงเพชร) แล้วสร้างเมืองตรัยตรึงษ์ ที่ตำบลแพรก ( ต.แพรกศรีราชาในปัจจุบัน ) หลังจากนั้นคงจะได้สร้างเมืองชัยนาทขึ้น และเหตุที่ตั้งชื่อชัยนาทคงเนื่องจากการรบชนะเจ้าของท้องถิ่นเดิม ส่วนที่กล่าวว่านามชัยนาทคงจะได้มาก่อน พ.ศ.1946 นั้น เนื่องจากสมเด็จพระนครินทราธิราชได้โปรดให้เจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท ตามความในประวัติศาสตร์ พอจะเป็นสิ่งที่สันนิษฐานกันได้ว่า คำว่าชัยนาท คงจะได้ชื่อมาก่อนปี พ.ศ.1946 อย่างไรก็ตาม คำว่า “ชัยนาท” ก็เป็นนามที่เป็นศิริมงคลมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน เพราะชัยนาท ก็ยังบันลือไปด้วยชัยชนะต่อความอดอยากหิวโหย ยังความผาสุกให้แก่ชาวชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียงตลอดลุ่มแม่น้ำจ้าพระยา ท่าจีน และแม่น้ำน้อย จนถึงปัจจุบัน
คำขวัญจังหวัดชัยนาท
หลวงปู่สุข--ลือชา
เขื่อนเจ้าพระยา--ลือชื่อ
นามระบือ--สวนนก
ส้มโอดก--ขาวแตงกวา
สถานที่ท่องเที่ยว

1. สวนนกชัยนาท

2. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชัยนาท

3. วัดเขาท่าพระ

4. วัดธรรมามูลวรวิหาร

5. วัดพระบรมธาตุวรวิหาร

6. วัดปากคลองมะขามเฒ่า

7. ฟาร์มจระเข้วสันต์

8. วัดมหาธาตุ(วัดหัวเมือง)

9. วัดสองพี่น้อง

10. วัดเขาสารพักเจริญธรรม
ของฝาก

1. แชมพูสมุนไพร

2. จากผักตบชวา

3. เครื่องเบญจรงค์

4. ผ้าโบราณ

5. ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่

6. เสื่อคุณภาพดี

7. ผ้าใหมผ้าฝ้าย

8. ผ้าหมัดหมี่

9. ผ้าตีนจก

10. หมอนขวาน

บทสรุป
จังหวัดชัยนาทเป็นเมืองโบราณ ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ตรงทางแยกฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำเมืองสรรค์ มีสถาที่ท่องเทียวที่น่าสนใจมากมาย เช่น สวนนกเป็นกรงนกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียมีพันธุ์นกฯมากมายหายาก และอีกหลายอย่าง

บรรณานุกรม

บรรณานุกรม

--
------------------------------------------------------------------------------------------หน้า2


ของฝากของที่ระลึก,ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2552. จาก
http://www.tour-thai.net/centre/chainat/gift.html
บุรีรัต สามัตกิน, 2545 ภาคกลาง กรุงเทพฯ,ไทยพัฒนาพานิส 2545 ชัยนาท
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดชัยนาท,ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2552. จาก

คำนำ

คำนำ

---------------------------------------------------------------------------------------------หน้าก
รายงานฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับจังหวัดชัยนาท โดยรวบรวมจากแหล่งสารสนเทศทั้งที่เป็นเอกสาร และบทความออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต หวังว่าคงมีประโยชน์แก่ผู้อื่นตามสมควร


--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------นิรุต รักคิณีย์

---------------------------------------------------------------31 สิงหาคม 2552

ปกใน

จังหวัดชัยาท
นิรุต รักคิณีย์
รหัส 5231010018
แผนก ช่างเทคนิคยานยนต์
วิชานี้เป็นส่วยหนึ่งของการศึกษาวิชาห้องสมุดกับการเรียนรู้สารสนเทศ
รหัส 3000-1601
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกา 2552
วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สารบัญ

ศุกร์ 28 สิงหาคม 2009


หน้า ข

สารบัญ

เรื่อง--------------------------------------------------------------หน้า
คำนำ-------------------------------------------------------------
บทนำ------------------------------------------------------------1
คำขวัญ-----------------------------------------------------------1
สถานที่ท่องเที่ยว------------------------------------------------1
ของฝาก----------------------------------------------------------1
บทสรุป-----------------------------------------------------------1
บรรณานุกรม------------------------------------------------------2

ปกนอก

จังหวัดชัยนาท
นายนิรุต รักคิณีย์
รหัส 5231010018
วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท